เป็นการเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ของนักเรียนห้องโครงการวิทยาศาสตร์และห้องเรียนวิทยาศาสตร์พิเศษโดยเข้าค่าย 3 วัน 2 คืน ด้วยกัน ตั้งแต่วันที่27-29 กันยายน 2551 ซึ่งในวันแรกก็ได้มีกิจกรรมเข้าฐาน
ฐานที่ 1 คือ ฐาน FILA เพื่อนสงสัยมั้ยค่ะว่า FILA คืออะไร จากการที่เราได้เรียนรู้เรื่องกระบวนการ FILA แล้ว ก็สรุปความได้ว่า FILA เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทีจะเป็นตัวช่วยในการคิด วิเคราะห์ สิ่งที่เป็นปัญหาที่เราสงสัย เพื่อนำไปสู่การทำโครงงาน
F : Fact คือ ข้อเท็จจริงหรือความจริงที่เราได้มาจากการสังเกต
I : Ideas คือ สมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้นำไปสู่การทดลอง
L : Learning issues คือ สิ่งที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติม
A : Action Plan คือ แนวทางการค้นคว้า
ฐานที่ 2 จะเป็นฐานที่เกี่ยวกับการสำรวจสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน โดยใช้กระบวนการ FILA เป็นตัวช่วยในการหาปัญหาและนำไปสู่แนวทางการแก้ไข
ฐานที่ 3 เป็นการประดิษฐ์เครื่องบิน โดยเราได้ประดิษฐ์เครื่องบินขึ้นมาด้วยกัน 3 ลำด้วยกัน สำหรับลำแรก เป็นเครื่องบินกระดาษที่ตัดตามแบบ 2 มิติ แต่ประกอบเป็นแบบ 3 มิติ
ลำที่ 2 เป็นเครื่องบินที่ทำจากโฟม โดยคุณครูจะมีโฟมให้เราเพียงแผ่นเดียว และให้ประดิษฐ์เครื่องบินตามจินตนาการขึ้นมาให้ได้หนึ่งลำ ซึ่งมีข้อแม้ว่า เครื่องบินที่ปรพดิษฐ์ขึ้นมานั้น ต้องสามารถบินอยู่ในอากาศได้นานที่สุด สำหรับเครื่องบินลำนี้กลุ่มของเราภูมิใจมากที่สุด เพราะว่า มันสามารถลอยตัวอยู่บนอากาศได้จริงๆค่ะ รูปแบบเครื่องบินก็เท่ระเบิด จริงๆนะคะ^^
ลำสุดท้าย เป็นเครื่องบินที่ประดิษฐ์มาจากหลอดและกระดาษ แต่มีข้อบังคับว่า เมื่อประดิษฐ์เครื่องบินลำนี้ขึ้นมาแล้ว ต้องสามารถลอยในอากาศได้ระยะทาง 5 เมตร และเลี้ยวขวาได้ซึ่งกลุ่มของเราทำให้เจ้าเครื่องนี้ลำนี้เลี้ยวขวาไม่ได้ พูดง่ายๆก็คือ มันยังบินไม่ได้นั้นเอง-*-
วันที่ 2 พวกเราได้เดินทางไปโรงเรียนบางตะบูนค่ะ
ภาคเช้า : กลุ่มของข้าพเจ้าได้เดินทางไปบ้านลุงไสย เพื่อไปศึกษาวิธีการเผาถ่านจากไม้โกงกางที่มีคุณภาพสูงในการให้พลังงานความร้อนและผลพลอยได้จากการเผาถ่าน ก็คือ นำส้มควันไม้ซึ่งนำมาใช้ในการฆ่าแมลง อยากจะบอกว่าไม้ที่นำไปเรียงในเตานั้นมากมายจริงๆค่ะ ทุกคนตกตลึงกันทุกคนเลย
วิธีการเผาไม้โกงกางนั้น อันดับแรก : ไม้โกงกางที่นำมาเผานั้นต้องมีอายุ 8-10 ปี โดยจะนำมาลอกเปลือกไม้ออกและตัดให้ยาวประมาณ 140 cm
ขั้นที่ 2 : นำไม้โกงกางที่ตัดแล้วไปเรียงในเตาเผาความจุประมาณ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ขั้นที่ 3 : เผาไม้ประมาณ 10 -15 วัน โดยใช้เชื้อเพลิงที่ได้จากกิ่ง ราก ของต้นโกงกางมาสุ่มไว้นอกเตา โดยไม้โกงกางจะไม่สัมผัสกับไฟแต่จะเป็นความร้อนที่ได้จากไฟแผ่เข้าไปในเตาแทนค่ะ
หลังจากนั้นเราได้เดินทางต่อไปขึ้นเรือที่วัดปากอ่าวเพื่อไปศึกษาระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำค่ะ อาชีพส่วนใหญ่ในบริเวณนี้ก็จะเป็นการเลี้ยงหอยแมลงภู่และหอยนางรมค่ะภาคบ่าย :พวกเราได้นั่งฟังบรรยายเกี่ยวกับป่าชายเลน และการศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนค่ะ ได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบริเวณป่าชายเลน และยังได้ลงสำรวจพื้นที่บริเวณป่าชายเลนอีกด้วยค่ะ
หลังจากนั้นเมื่อกลับมาถึงโรงเรียน พวกเราต้องนำเสนอเค้าโครงงานโดยใช้กระบวนการขอ FILAเป็นตัวช่วยอีกเช่นเคยค่ะ
เราคิดว่าวันนี้(28/09/2008)เป็นวันที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกเราได้พบกับ ผอ. นคร ตังคะพิภพ และวันนี้ยังเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านอีกด้วย ท่านได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับ บ้านสิรินธร ซึ่งเป็นบ้านที่พวกเราซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยจะเข้ามาอยู่ ณ บ้านหลังนี้ ท่านได้บอกเอาไว้อีกด้วยว่า "พวกเราจะได้เข้าไปอยู่ในบ้านหลังนี้" นี้เป็นคำกล่าวที่เราฟังแล้วมีกำลังใจในการเรียนสายวิทย์อีกเยอะเลยหลังจากนั้น เราก็ได้พบกับ Dr.ดำรงค์ ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำโครงงาน กลุ่มของเราได้ออกไปนำเสนอโครงงานเรื่อง เพรียงมีผลต่อการเกาะของหอยแมลงภู่หรือไม่(อะไรประมาณนี่แหละ เพราะเราก็ยังตั้งชื่อโครงงานไม่ออก) คุณครูบอกว่าเป็นโครงงานที่น่าสนใจ ให้ลองทำดู ซึ่งกลุ่มของเราก็คิดว่าจะทำในช่วงปิดภาคเรียนนี่ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำสำเร๊จรึป่าว ต้องทำสำเร็จซิเน้อๆๆๆๆ